วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตอนนี้ไว้รัส Facebook มีพัฒนาการเป็นอย่างมาก ถึงกับขั้นปลอมลิงค์ที่แชร์ โดยใช้ชื่อเว็บดังๆ หรือไม่บางทีก็มีข่าวดาราดังเกิดอุบัติเหตุบ้าง วงการฟุตบอลนักเตะย้ายทีมบ้าง ซึ่งแต่ละไวรัสจะแตกต่างกันออกไป

วันนี้แหละครับ ผมจะมาสอนการสังเกตลิงค์แท้หรือลิงค์ไวรัสนะครับ ถ้าเอาจริงๆ มันจะไม่ยากเลยครับ เพราะจุดบอดของเจ้าตัวไวรัสมันมีหลายจุด เช่น หัวข้อข่าว, รายละเอียดย่อ เป็นต้น

1.สังเกตหัวข้อข่าว !

นี่คือ 1 ในจุดบอดของเจ้าไวรัสครับ ซึ่งแน่นอนไวรัสจะมาจากต่างประเทศและเขาจะไม่สามารถแปลพิมพ์ไทยได้ถูกต้องทั้งหมด โดยเฉพาะศัพท์เฉพาะหรือชื่อคนไทยครับ โดยยกตัวอย่างจาก ข่าวของคุณ เก้า สุภัสสรา ที่โดนเจ้าไวรัสไปสร้างข่าวว่าเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเราจะสังเกตตรงที่ ชื่อของคุณเก้า ซึ่งมันจะเป็นภาษาอังกฤษเพียงแค่ชื่อ แต่นอกจากนั้นจะเป็นภาษาไทยหมด แปลว่าเจ้าไวรัสตัวนี้ ไม่สามารถแปลงชื่อคุณเก้าเป็นภาษาไทยได้ เลยกลายเป็นจุดเด่นสำหรับการสังเกตครับ เพราะถ้าข่าวโดยคนไทยจริงๆ แน่นอนชื่อต้องเป็นภาษาไทย 100% (หรือจะสังเกตที่การเขียนหัวข้อข่าวก็ได้ครับ ถ้าคนไทยหรือลิงค์จริง มันจะเขียนหัวข้อข่าวให้เราอยากรู้ อยากกดไปดู เช่น แย่แล้ว เมื่อหนุ่มคนนี้ไปพบกับทอง เขาจึง… เป็นต้น หรือมันจะเขียนหัวข้อที่อ่านแล้วมีความรู้สึกคล้อยตามครับ เช่น ชาวไทยเฮ ! ศาลยกเลิกคำสั่งห้ามแบน fast 7 แล้ว ! เป็นต้น)

 

ซึ่งจากรูปแล้ว มันเป็นหัวข้อที่สั้นและทำเหมือนข่าวลวกๆครับ

 

2.คำอธิบายข่าว (รายละเอียดย่อของข่าว)

อันนี้นับว่าเป็นจุดบอดสำคัญเลยสำหรับไวรัสที่จะแฝงมาในไทย เพราะแน่นอนมันมาจากต่างประเทศ จะให้เขาสามารถป้อนภาษาไทยเป็นบรรทัดๆ คงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว(แต่ตอนนี้เริ่มจะมีแล้วในข่าววงการฟุตบอล) แต่อย่าได้กลัวครับ ถึงจะมีรายละเอียดของข่าว แต่มันคงไม่หนักแน่นเท่าข่าวจริงครับ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้เลย

ภาพข้างต้น คือเพื่อนในเฟซบุ๊คของผม ที่เขาโดนไวรัสเข้าไปครับ ตอนแรกผมกดเข้าไปละ แต่จู่ๆก็รีบปิดทันทีเมื่อสังเกตเห็นว่า คำอธิบายข่าวแบบย่อ มันสั้น !! หรืออาจจะไม่มีไปเลยก็ได้ อย่างผิดปกติมากๆ ซึ่งถ้าเราเอาข่าวไวรัสมาเปรียบเทียบกับข่าวจริงจากเว็บของคนไทย จะเห็นช่องว่างและค่าต่างกันที่เยอะมาก !

 

จากภาพข้างต้น จะทำให้สังเกตว่า เว็บของ Sanook.com จะมีรายละเอียดที่เด่นชัดว่า และข่าวไวรัสจะไม่มีรายละเอียดอยู่เลยหรืออาจจะมีน้อยนิดเดียว อย่างเช่นข่าวคุณ เค VRZO

3. DOT LINK ดอทลิงค์

นี่อาจจะไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะตัวผมเองก็อึ้งเหมือนกันที่เจอไวรัสปลอมลิงค์เป็นชื่อเว็บ Thairath ซึ่งตอนแรกกล้าๆกลัวๆ ที่จะกดเข้าไปดู แต่เพราะ 2 หัวข้อ ข้างต้นที่กล่าวมา มันเลยทำให้ผมเลือกที่จะไม่กดเข้าไปดูครับ

โดยให้เราสังเกตที่ ชื่อลิงค์( URL ) เว็บจริงๆของคนไทย ต้องมีเพียง .com .net .in.th .co.th .ac.th .me แต่ส่วนนี้อาจจะดูยากเพราะไวรัสมันพัฒนามาถึงขั้นนี้แล้ว แต่ว่าไป การพัฒนาของไวรัส อาจจะพัฒนามาเกินขอบเขตจนกลายเป็นจุดบอดอีกหนึ่งจุดเพราะตอนนี้ผมได้เจอลิงค์แบบเป็นชื่อภาษาไทย

เฟสบุ๊คไม่มีนโยบายให้แสดงลิงค์เป็นแบบนี้ครับ ถ้าจะแสดงแบบนี้ ต้องเป็นแบบ ชื่อเว็บ | โดย เครดิตภาษาไทย แบบนี้เท่านั้น ยกตัวอย่างจากเว็บสนุกดอทคอม News.sanook.com | โดย SANOOK ONLINE LTD.. THAILAND

 

4.ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย หาข้อมูลจริงจาก Google

ข้อ 4 นี่สำคัญมาก ! ถ้าเราได้รับข่าวสารมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม หากเราไม่แน่ใจที่จะกดเข้าไป เราก็สามารถไปค้นหาชื่อตัวข้อข่าวนั้นๆ ตาม Google ได้ แน่นอน ข่าวดังซะขนาดนั้น ถ้าไม่มีใน Google ก็แปลกแล้ว เพราะถ้าเราเอาหัวข้อข่าวไปค้นหาใน Google ถ้าเป็นข่าวจริง แน่นอน คุณจะได้พบกับเว็บดังๆหลายๆเว็บแน่ เช่น Kapook , sanook, Teenee, Ohozaa เป็นต้น แต่ถ้ากลับกลายเป็นข่าวไวรัส โอกาสที่ึคุณจะเจอใน Google กลายเป็น 0 แน่นอน เพราะอากู๋ไม่มีทางจะนำไวรัสมาแสดงบนเว็บของเขาแน่นอน

เป็นไงกันบ้างครับ สำหรับ 4 ข้อ มันคงไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ ฮ่าๆ

ก็ขอให้ช่วงนี้เพื่อนๆ และทุกๆคน ระมัดระวังในการเสพข่าวและกดลิงค์ต่างๆด้วยนะคร้าบบบ

เรียบเรียง โดย สยามไซต์ดอทเน็ต